Table of Contents

อุตสาหกรรมค้าปลีกในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนาคตการทำธุรกิจ และวิธีประสบความสำเร็จที่ดีที่สุด

retail business in southeast asia

Share

Table of Contents

อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งอย่างมาก โดยได้รับแรงหนุนในด้านการขับเคลื่อนเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็วและการได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 19.30%1 ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคตข้างหน้า

การเพิ่มขึ้นของธุรกิจ E-commerce และการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล

จากการศึกษาของ Google, Temasek และ Bain & Company ได้เผยว่าภาค E-commerce ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีมูลค้าสูงถึง 172 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 20252 

โซลูชั่นแบบ Contactless เช่น eWallets เช่นระบบของ GrabPay และ Dana หรือการชำระเงินผ่านระบบ QR นั้นช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการชำระเงิน เพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการชำระเงินในชีวิตประจำวัน และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและช่วยให้พนักงานจัดส่งนั้นสามารถรับเงินจากลูกค้าโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพกเงินเพื่อเป็นเงินทอนไปด้วย

การนำกลยุทธ์ Omnichannel มาใช้

การเพิ่มขึ้นของธุรกิจค้าปลีกแบบ Omnichannel นั้นทำให้อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์และออฟไลน์ที่เชื่อมต่อเข้ากันและทำงานได้อย่างราบรื่น แนวทางนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างสะดวก สำรองสินค้าเพื่อรับของที่ร้านค้า และแม้แต่ใช้ตัวเลือกการชำระเงินแบบ Contactless เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการช้อปปิ้งที่ราบรื่นและสะดวกสบายได้ในทุกจุดสัมผัสของการซื้อสินค้า

การเพิ่มขึ้นของ E-commerce นั้นเป็นเรื่องไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยเองนั้น มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Central Retail มองว่าแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นมีส่วนแบ่งยอดขายถึง 18% ของเทรนด์การซื้อขาย และนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มการตอกย้ำโดย CP-ALL โดยมีการเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ที่คิดเป็น 10% ของยอดขายในร้าน ในทำนองเดียวกันบริษัท Mitra Adiperkasa จากอินโดนีเซียเองได้รายงานว่า รายได้กว่า 9.5% ของพวกเขานั้นมาจากรายได้การขายของผ่านช่องทางออนไลน์

การเพิ่มขึ้นของการค้าทางสังคมและความสนุกจากการช็อปปิ้ง

อนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความโดดเด่นในเรื่องการผสมผสานกระบวนการระหว่างการค้าแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยประชากรที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเข้าใจด้านดิจิทัลของภูมิภาคมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ผู้ค้าปลีกที่กำลังเปิดรับกับเทรนด์การซื้อขายใหม่ๆ เช่น ความต้องการของนักช้อปผ่านช่องทางการค้าขายผ่านโซเชียลที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบที่มีการโต้ตอบและมีส่วนร้วมของลูกค้ามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความสามารถที่ฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งและโปรแกรมที่สร้างความภักดีให้กับลูกค้า ที่มีความพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ถูกต้องและตรงจุด

การลงทุนในด้านเทคโนโลยีและระบบด้านการวิเคราะห์

ผู้เริ่มใช้งานกลุ่มแรกๆ ในด้านอุตาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นกำลังเริ่มเก็บเกี่ยวผลตอบเทนที่สำคัญจากการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI)

บริษัทต่างๆ ที่จัดสรรงบประมาณการดำเนินงานเพิ่มเติม 15% ให้กับเทคโนโลยีเหล่านี้ จะได้รับผลตอบแทนรวมสูงกว่าผู้ถือหุ้นถึง 1.5 ถึง 2.5 เท่า

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจน: AI ไม่ได้เป็นเพียงแนวโน้มในอนาคต แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงในสิงคโปร์

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ภูมิทัศน์ของธุรกิจการค้าปลีกของสิงคโปร์นั้นกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การช็อปปิ้งผ่านช่องทางหลายๆแห่งที่มีการผสานรวมระบบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการช็อปปิ้งทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน ประเด็นนี้ถือว่าเป็นแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงนี้

เทรนด์นี้ได้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของนักช้อปชาวสิงคโปร์ คาดการว่าภายในปี 2026 นั้นจะมีการใช้จ่ายผ่านร้านค้าปลีกประมาณ 62% ที่จะเกิดขึ้นผ่านช่องทาง Omnichannel3

การเพิ่มขึ้นของเทรนด์ “การช็อปปิ้งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์” นั้นสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ เนื่องจากผู้บริโภคได้เริ่มใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์มากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในเรื่องการวิจัยในความต้องการของผลิตภัณฑ์และเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้ออย่างมีข้อมูล ทั้งทางออนไลน์และในร้านค้า

การเพิ่มขึ้นของการค้าเพื่อสังคมในอินโดนีเซีย

ภูมิทัศน์การค้าปลีกของอินโดนีเซียนั้นกำลังประสบกับปรากฎการณ์ที่ไม่เหมือนใครมาก่อน นั่นก็คือการเพิ่มขึ้นของการค้าขายเพื่อสังคม ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวอินโดนีเซียนั้นเริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มโซเชียมีเดียมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการช็อปปิ้ง โดยเลี่ยงช่องทางการซื้อขายแบบบ E-commerce ที่เป็นที่ยอมับการสำรวจล่าสุดโดย Rakuten Insight เผยให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามถึง 90% ได้ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในปีที่ผ่านมา โดยเกือบ 40% นั้นซื้อสินค้าซ้ำ (เกินหกครั้งขึ้นไป)4

กระแสการค้าเพื่อสังคมที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจากหลายปัจจับ อินโดนีเซียนั้นมีประชากรที่อายุน้อยอยู่จำนวนมาก โดยที่กว่า 40% นั้นมีอายุต่ำกว่า 25 ปี โดยที่คนรุ่นนี้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการใช้เทคโนโลยีนี้มาพร้อมกับสมาร์ทโฟนและกระเป๋าเงินที่เป็นระบบดิจิทัล ทำให้การช้อปปิ้งบนโซเชียลมีเดียกลายเป็นประสบการณ์ที่ใช้ได้อย่างสะดวกสบายและคุ้นเคย นอกจากนี้แล้ว การเติบโตอย่างรวดเร็วของการค้าบนระบบดิจิทัลในอินโดนีเซียนั้นได้ส่งเสริมให้ธุรกิจการค้าออนไลน์เริ่มมีชีวิตชีวามากขึ้น โดยการเริ่มบูรณาการระบบให้เข้ากับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆได้อย่างราบรื่น

บทบาทของระบบ Cloud ERP

ระบบ Cloud ERP นั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจก้าวนำหน้าภายในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล ระบบ AI และระบบการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ ผู้ค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการสินค้าในคลัง ลดเวลาในการจัดส่งสินค้า และปรับปรุงประสิทธิภาพในเรื่องการดำเนินงานของธุรกิจโดยรวม

สิ่งนี้ส่งผลให้ระบบนิเวศของการค้าปลีกนั้นมีความคล่องตัวและคุ้มค่าในเรื่องทุนมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถส่งต่อผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ในรูปแบบของราคาที่แข่งขันได้และคุณภาพการบริการที่เพิ่มมากขึ้น

โดยสรุป

อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้และทำความเข้าใจกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ด้วยการนำกลยุทธ์ Omnichannel การลงทุนในระบบ AI และการวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud ERP ผู้ค้าปลีกสามารถก้าวนำหน้าและมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าของตนได้เสมอ

ในขณะที่ภูมิภาคมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อนาคตของการค้าปลีกนั้นดูสดใส พร้อมโอกาสอันไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับนวัตกรรมและความสำเร็จของธุรกิจ

  1. YCPS Marketing & Communication Group (Shin Thant Aung). Revolutionizing Retail: Navigating the Digital Future in Southeast Asia, November 2023. https://ycpsolidiance.com/article/retail-asia-future ↩︎
  2. Tech Collective SEA. We explore emerging trends in retail tech in Southeast Asia, May 3, 2024. https://techcollectivesea.com/2024/05/03/emerging-trends-retail-tech-southeast-asia/ ↩︎
  3.  GUPSHUP. How are Singapore’s Retail Brands Leveraging Conversational AI to Enhance Customer Interaction? February 7, 2024. https://www.gupshup.io/resources/blog/singapore-retail-and-ai-enhancing-customer-interactions#:~:text=The%20Transformation%20of%20Retail%20in,local%20demands%20and%20worldwide%20trends. ↩︎
  4. Ross O’Brien. Indonesia’s eCommerce Economy Driven by Innovation, December 11, 2023. https://therobinreport.com/indonesias-ecommerce-economy-driven-by-innovation/#:~:text=After%20China%2C%20Indonesia%20is%20Asia’s,digital%20retailers%20and%20consumer%20brands. ↩︎

Share