Blog

ประโยชน์ของ Digital Transformation ต่อการจัดการกับระบบซัพพลายเชนของบริษัท

ธุรกิจในยุคดิจิทัลได้มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้การทำงานแบบเดิมนั้นเริ่มหายไป และสิ่งนี้จะช่วยผลักกันให้การจัดการระบบซัพพลายเชนของบริษัทในยุดดิจิทัลนั้นดำเนินการได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

การมาถึงของบริการต่างๆ เช่น Amazon Prime Now ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริการที่ให้ผู้ซื้อสามารถรับสินค้าได้ภายในวันเดียวหรือ ภายใน 24 ชั่วโมง ได้เปลี่ยนแปลงการทำงานโดยรวมของธุรกิจทั่วโลก ในขณะที่ผู้ค้ารายอื่นๆต้องต้อสู้กับคู่แข่ง และคอยรับกับแรงผลกระทบทางธุรกิจที่เกิดขึ้นรอบโลกอีกด้วย

ในภาคของธุรกิจ e-commerce ซึ่งได้ถูกยกว่าเป็น “อนาคตของการค้าปลีก” ได้รับแรงผลักดันจากผู้ที่ให้ความสนใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีนี้จากทั่วโลกกับแนวโน้มและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามานำเสนอข้อเสนอแก่บริษัทที่มีฐานที่มั่นคงแล้วแต่กำลังพยายามทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีใหม่ ด้วยวิถีการซื้อของออนไลน์ของลูกค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ทำให้กระตุ้นการซื้อขายออนไลน์โดยที่ดึงดูดลูกค้าด้วยความสะดวกสบายในการซื้อที่สามารถทำได้จากที่บ้านของพวกเขาเอง

ในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีที่แล้วได้ขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรม e-commerce ให้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เร่งระยะเวลาจาก “10 ปีของการเติบโตของ e-commerce นั้นเกิดขึ้นได้ในเพียงระยะเวลา 90 วัน” ตามที่การรายงานผลของ Shopify ได้กล่าวไว้

สิ่งที่ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถพัฒนาได้ดีขนาดนี้นั้นจะต้องมีระบบการจัดการกับซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อตอบสนองกับความต้องการทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน การจัดการกับซัพพลายเชนนั้นเกี่ยวข้องกับการรวมการทำงานของหลายระบบภายในบริษัทเข้าด้วยกัน เช่น การขาย การผลิตและการจัดจำหน่าย และพาร์ทเนอร์ เช่น ซัพพลายเออร์และลูกค้าปลายทาง

ซัพพลายเชนในยุคปัจจุบันนั้นมีสายป่านที่ยาวขึ้นและแผ่ขยายไปทั่วโลก เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น จะทำให้บริษัทต่างๆมักเจอปัญหากับการที่ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าตามที่สัญญาไว้ เมื่อเดือน กรกฎาคม 2019 ในช่วงฤดูการขายสูงสุด Asos เกิดข้อผิดพลาดและปัญหาขึ้นในระบบคลังสินค้า ทำให้บริษัทขาดทุนเป็นจำนวนหลายล้าน

Supply Chain Management

และเรื่องที่เป็นสิ่งน่างุนงงมากที่สุดคือ การรายงานจากการหาข้อมูลล่าสุดโดยรอยเตอร์ได้เปิดเผยว่า หลายบริษัทยังคงติดตั้งระบบและใช้ระบบจัดการกับซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภายไม่เพียงพอกับธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจยิ่งกว่าเมื่อค้นพบว่าบริษัทที่รอยเตอร์ได้ทำการสำรวจยังคงใช้ระบบการทำงานแบบเดิมอยู่

สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทซัพพลายเชนเกือบ 400 ราย ที่ทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ได้เผยว่า “22% กล่าวว่าพวกเขาใช้ Excel เพื่อวางแผนการดำเนินงาน” และเป็นอย่างที่เราทราบกันดีว่า Spreadsheet นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นโปรแกรมที่เชี่ยวชาญในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์ในยุดสมัยดิจิทัล

เรื่องที่น่าตกใจอื่นๆที่รอยเตอร์ค้นพบคือ – “55% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขายังคงใช้กระบวนการด้วยตนเองในการตัดสินใจวางแผน โดย 28% กล่าวว่ากระบวนการตัดสินใจทั้งหมดของพวกเขาเป็นแบบแมนนวลและขาดการสนับสนุนระบบ” ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า “ระบบของพวกเขาทำ ไม่สามารถเข้าถึงระบบในโทรศัพท์มือถือได้” ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน และในช่วงที่มีการผันผวนของสภาวะธุรกิจอีกด้วย

ด้านล่างนี้คือบางส่วนของการเปิดเผยที่น่าตกใจอื่นๆ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม:

  • 44% คิดว่าระบบของพวกเขายังไม่รวมเข้ากับระบบอื่นได้ดี
  • 43% กล่าวว่าระบบของพวกเขาขาดการวางแผนอัตโนมัติ/การเพิ่มประสิทธิภาพ
  • 41% รายงานว่าพวกเขาไม่สามารถใส่กฎและข้อยกเว้นที่ซับซ้อนทั้งหมดที่พวกเขาต้องการได้
  • 32% ไม่สามารถทดสอบหลายสถานการณ์ได้
  • 28% ทราบว่าระบบของพวกเขาไม่ได้เชื่อมโยงคลังสินค้าและการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์
  • 26% ประสบปัญหาในการทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายราย

ในช่วงที่โลกนั้นเกิดความโกลาหลจากโรคระบาด โควิด-19 ทำให้บริษัทต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อให้ธุรกิจยังคงอยู่รอดและเติบโตไปได้ในช่วงเวลาที่มีความวุ่นวาย การจัดการสินค้าในคลังไม่ใช่การเดาทางอีกต่อไป ความสามารถในการคาดการณ์ความต้องการโดยการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในตลาดจะช่วยให้บริษัทต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบซัพพลายเชนมีวลาคืนทุนน้อยกว่าสองปี ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาของ McKinsey ชี้ให้เห็นว่า “บริษัทที่ปรับเปลี่ยนระบบซัพพลายเชนของตนเองให้เป็นระบบดิจิทัลสามารถทำให้บริษัทคืนทุนและเติบโตได้ก่อนมีการหักดอกเบี้ยและภาษีต่อปีได้ 3.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ใหญ่ที่สุดจากการแปลงธุรกิจให้เป็นดิจิทัล และรายได้ต่อปีจะเพิ่มขึ้น 2.3%”

ด้านล่างนี้ เราจะมาทำความเข้าใจกับประโยชน์บางประการที่การจัดการกับระบบซัพพลายเชนของธุรกิจสามารถได้รับจากการดำเนินการเปลี่ยนระบบไปสู่ระบบดิจิทัลได้ ซึ่งโซลูชั่นต่างๆ เช่น การย้ายระบบคลาวด์และการใช้ระบบ ERP มีประโยช์นกับธุรกิจอย่างมาก

ให้มุมมองธุรกิจแบบเรียลไทม์ ครบวงจรของกระบวนการทางธุรกิจ

สมมติว่าคุณเป็นผู้ค้าปลีกแบบ omnichannel เป็นต้น กรณีที่วัตถุประสงค์ของธุรกิจคือช่วยให้ลูกค้าของคุณได้รับประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ราบรื่นในทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าในร้านค้าหรือช่องทางดิจิทัล และให้สิทธิพิเศษในการรับสินค้าหรือบริการด้วยวิธีที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกค้า

ระบบ Cloud ERP ช่วยนำเสนอมุมมองที่เป็นเอกภาพและเรียลไทม์ของลูกค้าทั้งหมดของคุณและรวมถึงการทำธุรกรรมของพวกเขา สิ่งนี้ช่วยให้คุณสามารถตอบสนองกับคำขอของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ระบบติดตามและตรวจสอบที่ส่งอัปเดตโดยละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งซื้อตลอดระยะเวลารอคอยสินค้า และยังช่วยให้ธุรกิจแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานะของคำสั่งซื้อของพวกเขาอยู่เสมอ

Supply Chain Management

มุมมองภาพรวมของระบบ ยังช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของคลังสินค้าทั้งหมดของคุณ สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับจำนวนสินค้าที่อยู่ในคลัง ช่วยให้คุณทำการปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

Supply Chain Management

การวางแผนความต้องการเชิงวิเคราะห์

การวางแผนระบบซัพพลายเชนเป็นกระบวนการที่ความละเอียดอ่อนอย่างมากในการพยายามจัดหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่จำเป็นจะต้องทำทั่วโลกในช่วงเวลาที่ไม่มีความแน่นอน ด้วยระบบ Cloud ERP ช่วยให้คุณได้รับส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างการควบคุมต้นทุน ระยะเวลาดำเนอนการ และในระดับบริการ

โดยโซลูชั่น Cloud ERP จะช่วยให้ธุรกิจสามารถคำนวณและคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าโดยใช้เครื่องมือขั้นสูง สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างย่ิงในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

การรวมแบบใช้ใช้โค้ดน้อย หรือ ไม่จำเป็นต้องใช้โค้ด

ในสภาพแวดล้อมที่สามารถทำธุรกิจได้แบบไร้พรมแดน การทำธุรกรรมนั้นจะเกิดขึ้นจากทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นผู้ให้บริการ third-party logistic provider (3PL) โอกาสที่คุณจะจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่แตกต่างกันเพื่อรองรับผู้ค้าปลีกหลายราย

ข้อได้เปรียบที่ยอดเยี่ยมประการหนึ่งของระบบคลาวด์ในสมัยใหม่คือการผสานรวมระบบที่ทำได้อย่างง่ายได้ ด้วยการใช้โค้ดที่น้อยมากจนถึงขั้นไม่มีเลย สิ่งนี้ช่วยให้บริษัท 3PL ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างมากโดยไม่จำเป็นต้องจ้างทีมไอทีภายในองค์กรเพื่อคิดหาโซลูชั่นสำหรับระบบต่างๆ ที่พวกเขาพบในการทำธุรกรรม

ความสามารถในการปรับขนาดตามธุรกิจ

โซลูชั่นในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจดิจิทัล เช่น ระบบ Cloud ERP สร้างขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการและเมื่อจำเป็น สิ่งนี้ทำให้ระบบตรวจสอบสินค้าในคลังของคุณสามารถขยายตัวไปพร้อมๆกับธุรกิจของคุณ

สิ่งนี้ยังช่วยให้ธุรกิจ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในลักษณะที่มีโครงสร้างและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งระบบสามารถรองรับกับการเติบโตของธุรกิจได้อย่างง่ายดายเมื่อพวกเขารู้สึกว่าจะต้องเริ่มขยายธุรกิจแล้ว

Share this post

Please fill out the details below.

Event Registration 1

This form is created for another event registration.

"*" indicates required fields

**This event has limited seats available.