สำหรับธุรกิจแล้ว การรักษาการดำเนินงานทั้งหมด โดยเฉพาะกระบวนการต่างๆในระบบซัพพลายเชน การมีระบบรับมือกระบวนการเหล่านี้ภายในองค์กรถือว่าเป็นกลยุทธ์ทางการเงินที่ฉลาดอย่างมาก ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมคำสั่งซื้อต่างๆ ธุรกรรมทางการเงิน และข้อตกลงระหว่างองค์กรและคู่ค้า ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแนวทางการจัดการของซัพพลายเชน
การหยุดชะงักของการทำงานของซัพพลายเชนทั่วโลกที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทหลายแห่งต้องหาโซลูชั่นจากภายนอกองค์กร เช่น การเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ แม้ว่าแนวทางภายนอกนี้จะให้ความคล่องตัว แต่ในขณะเดียวกัน ยังนำพาความเสี่ยงใหม่ๆเข้ามาให้กับองค์กรด้วยเช่นกัน
ความซับซ้อนของการค้าระหว่างบริษัท
ในการทำงานปัจจุบัน ประธานบริหารฝ่ายการเงิน (CFO) นั้นอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลในเรื่องการส่งมอบผลลัพธ์ที่รวดเร็วและลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ขณะที่หลายๆฝ่ายได้หันไปให้ความสนใจที่การพัฒนาระบบภายในองค์กร โดยมองหาการค้าระหว่างบริษัทเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับระบบซัพพลายเชน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้เผยให้เห็นถึงความท้าทายมากมาย เช่น ปัญหาของเรื่องกระบวนการจัดการที่ไม่สอดคล้องกับการจัดการระบบซัพพลายเชน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้เผยให้เห็นถึงความท้าทายมากมายและปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย เช่น กระบวนการบันทึกข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันและเทคโนโลยีที่ล้าสมัยที่กลายเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพภายในองค์กร ระบบที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่ได้ดีและเพียงพอสำหรับการจัดการระบบซัพพลายเชนนั้นไม่สามารถรองรับกับการทำงานที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบันที่มีการประมวลผลธุรกรรมมากขึ้นได้
แม้ว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทนั้นจะได้รับการประกันในเรื่องการควบคุมและประหยัดต้นทุนในการทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายอุปสรรคที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องก้าวข้ามเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด นี้คือจุดที่เทคโนโลยีในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซลูชันระหว่างบริษัท และช่วยบรรเทาปริมาณงานของ CFO ที่ต้องเผชิญความซับซ้อนของซัพพลายเชนใจยุคสมัยใหม่
ปริมาณขนาดของความท้าทาย
ประมาณ 70% ของการดำเนินธุรกิจทั่วโลกไหลผ่านบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดธุรกรรมหลายแสนรายการในแต่ละวัน ปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่อจากการพิจารณากระบวนการสินค้าภายในระบบซัพพลายเชนข้ามชาตินั้นจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ระบบใบสั่งซื้อไปจนถึงการขายขั้นสุดท้าย
เนื่องจากกระบวนการที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อการทำธุรกรรม การคำนวณ และข้อกำหนดในการประมวลผลที่มีจำนวนมาก บริษัทนั้นยังจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีเฉพาะประเทศและข้อกำหนดทางกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็จัดการกับความซับซ้อน เช่น การกำหนดราคาโอน ภาษีทางอ้อม และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ความท้าทายเพิ่มมากขึ้นเมื่อจัดการรายการจำนวนมากสำหรับการปฏิบัติตาม คำสั่งซื้อบางส่วน การจัดส่ง ส่วนลด และการเรียกเก็บเงินซ้ำ
การทำธุรกรรมข้ามพรมแดนนั้นจะต้องเผชิญกับอุปสรรคเพิ่มเติมในสภาพแวดล้อมแบบ multi-ERP โดยการทำกระบวนการต่างๆผ่านระบบบัญชีระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศ การขาดกระบวนการและนโยบายนั้นจะเป็นไปตามกฏระเบียบ กระบวนการและนโยบาย ที่เป็นมาตรฐานทั่ว ทั้งจุดติดต่อทางธุรกรรมทั่วโลกที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าและความไม่ถูกต้องที่ส่งผลกระทบต่อการเงิน การดำเนินงาน การคลัง และสิ่งสำคัญอื่น ๆ ของกระบวนการ
ความสำคัญของการมองเห็นระบบแบบ end-to-end และโซลูชั่นระหว่างบริษัท
BlackLine เป็นโซลูชั่นการบัญชีบนระบบ Cloud ชั้นนำของอุตสาหกรรมที่ช่วยให้กระบวนการทางการเงินและการบัญชีกลายเป็นระบบอัตโนมัติที่ทำงานแบบ end-to-end และ เตรียมพร้อมกับการรับมือกับขนาดธุรกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างบริษัท
โซลูชั่นการทำงานระหว่างบริษัทของ BlackLine นั้นช่วยให้ลูกค้าดำเนินการปิดบัญชีทางการเงินที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยดูแลกำกับดูแลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อจัดการกับปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศและเฉพาะประเทศ และได้รับการมองเห็นที่สำคัญในทุกแง่มุมและองค์กรของธุรกิจของพวกเขา
แนวทางที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับข้อเสนอข้ามชาติตามนี้:
การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
การระบุและกำจัดข้อผิดพลาดในธุรกรรมหลายพันรายการ ป้องกันข้อผิดพลาดด้านภาษีและกฎระเบียบตั้งแต่เริ่มแรก
การมองเห็นกระบวนการในระบบที่เพิ่มมากขึ้น
การใช้การควบคุมระดับชั้นนำ การวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานแดชบอร์ดเพื่อภาพรวมระหว่างบริษัทที่ครอบคลุม
แพลตฟอร์มข้อมูลที่เป็นศูนย์รวม
การสร้างแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมและสร้างบัญชีประเภทย่อยทั่วโลก ช่วยให้องค์กรมีความมั่นใจถึงการรายงานที่แม่นยำมากขึ้น ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบ ERP ที่ใช้งานอยู่
การดำเนินงานบนระบบที่คล่องตัว
ปรับปรุงการดำเนินงานระหว่างบริษัทเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติตามภาษีและการปรับปรุงอัตรากำไร
การลดงานที่ต้องทำด้วยมือ
ลดการทำงานที่ต้องทำด้วยตนเอง และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดข้อผิดพลาด ช่วยให้บุคลากรมุ่งเน้นไปที่การทำงานที่มีความสำคัญต่อองค์กร
การลงทุนในอนาคต: จุดเปลี่ยนของระบบซัพพลายเชน
CFO นั้นมีสิ่งที่พวกเขาต้องให้ความสำคัญในเรื่องระบบทางการเงินมากมาย และมีทั้งเรื่องความซับซ้อนของการทำธุรกิจระดับโลก การดำเนินงาน กฎระเบียบ และภาษีที่ต้องจัดการ ทำให้การจัดการการเงินระหว่างบริษัทกลายเป็นข้อกังวลเร่งด่วนสำหรับบริษัทข้ามชาติ เนื่องจากการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนเปิดรับโซลูชั่นดิจิทัลและคลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแน่ใจว่าธุรกรรมภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามข้อกำหนด และปราศจากความเสี่ยงเช่นเดียวกับความร่วมมือและธุรกรรมภายนอก